ประเภทของบทอาขยาน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการท่องบทอาขยาน และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดีสําหรับจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกําหนดแนวทางและพิจาณา คัดเลือกบทอาขยานภาษาไทย ได้พิจารณาคัดเลือกและวางแนวทางการท่องบทอาขยานสําหรับนักเรียน นอกจากนี้ยังเห็นควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่น ได้แก่ ครู บิดามารดา ผู้ปกครอง และนักเรียนมีส่วนร่วม คัดเลือกบทอาขยานด้วย จึงได้กําหนดบทอาขยานเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. บทหลัก
บทหลัก หมายถึง บทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนดให้นักเรียนท่องจําเพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันทั่วประเทศ ส่วนใหญ่คัดเลือกจากวรรณคดีที่กําหนดให้เรียนตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดีสําหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยกําหนดตอนที่ไพเราะ ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และให้คติสอนใจ
2. บทรอง
บทรอง หมายถึง บทอาขยานที่นักเรียนเลือกท่องตามความสนใจมิได้เป๐นการบังคับ โดยอาจเลือก ท่องจากบทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือกไว้ หรือบทประพันธ์ที่ครูผู้สอนแนะนําเพิ่มเติม หรือเป็น บทอาขยานที่นักเรียนชอบ นักเรียนแต่งขึ้นเองหรือผู้ปกครอง ผู้มีความสามารถในท้องถิ่นแต่งขึ้นก็ได้ การที่ นักเรียนรู้จักคัดเลือกบทประพันธ์ที่มีคุณค่าและท่องจําไว้ใช้ประโยชน์ย่อมแสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคิด ความเป็นผู้ มีเหตุผล มีสุนทรียรสทางภาษา ทําให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในการท่องบทอาขยานมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น