วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2563

บทอาขยาน





บทอาขยาน


       บทอาขยานหรือบทประพันธ์ที่คัดเลือกมาให้นักเรียนท่อง ซึ่งครูได้แนะแนวทางให้นักเรียนทําความ เข้าใจก่อนท่อง รวมทั้งนักเรียนได้มีโอกาสท่องบทอาขยานพร้อมกันทั้งห้องเรียนนั้น จะเป็นผลทําให้ผู้ที่เคยท่อง บทอาขยานหวนรําลึกถึงบรรยากาศของการท่องอาขยานว่าเป๐นช่วงเวลาที่น่าประทับใจ การจดจําบทอาขยาน ได้อย่างแม่นยําและสามารถนําไปใช้อ้างอิงได้เกิดการสืบทอดทางวัฒนธรรมและเป๐นการปลูกสํานึกให้เยาวชน รู้สึกซาบซึ้งในบทประพันธ์แต่เยาว์วัย การท่องบทอาขยานจึงไม่ใช่การท่องแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่เป็นการท่องเพื่อให้เกิดการจําและรับรู้เกิดทักษะทางภาษา เกิดความซาบซึ้ง เห็นคุณค่าในความงามของภาษา และได้ ข้อคิดนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิต

วัตถุประสงค์ของบทอาขยาน


วัตถุประสงค์ของบทอาขยาน



1. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทยและซาบซึ้งในความไพเราะของบทร้อยกรอง

2. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน 

3. เพื่อเป็นสื่อส่งเสริมจิตสํานึกทางวัฒนธรรมร่วมกันของคนในชาติ 

4. เพื่อเป็นพื้นฐานการแต่งคําประพันธ์ของนักเรียน

ประเภทของบทอาขยาน


ประเภทของบทอาขยาน


เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการท่องบทอาขยาน และสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดีสําหรับจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกําหนดแนวทางและพิจาณา คัดเลือกบทอาขยานภาษาไทย ได้พิจารณาคัดเลือกและวางแนวทางการท่องบทอาขยานสําหรับนักเรียน นอกจากนี้ยังเห็นควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่น ได้แก่ ครู บิดามารดา ผู้ปกครอง และนักเรียนมีส่วนร่วม คัดเลือกบทอาขยานด้วย จึงได้กําหนดบทอาขยานเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

1. บทหลัก 
 บทหลัก หมายถึง บทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการกําหนดให้นักเรียนท่องจําเพื่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันทั่วประเทศ ส่วนใหญ่คัดเลือกจากวรรณคดีที่กําหนดให้เรียนตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดีสําหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยกําหนดตอนที่ไพเราะ ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และให้คติสอนใจ 

2. บทรอง  
บทรอง หมายถึง บทอาขยานที่นักเรียนเลือกท่องตามความสนใจมิได้เป๐นการบังคับ โดยอาจเลือก ท่องจากบทอาขยานที่กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือกไว้ หรือบทประพันธ์ที่ครูผู้สอนแนะนําเพิ่มเติม หรือเป็น บทอาขยานที่นักเรียนชอบ นักเรียนแต่งขึ้นเองหรือผู้ปกครอง ผู้มีความสามารถในท้องถิ่นแต่งขึ้นก็ได้ การที่ นักเรียนรู้จักคัดเลือกบทประพันธ์ที่มีคุณค่าและท่องจําไว้ใช้ประโยชน์ย่อมแสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคิด ความเป็นผู้ มีเหตุผล มีสุนทรียรสทางภาษา ทําให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในการท่องบทอาขยานมากยิ่งขึ้น 

แมวเหมียว


แมวเหมียว

บทอาขยาน “บทหลัก” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


แมวเอ๋ยแมวเหมียว 
รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา 
ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา 
เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู 
รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง 
ค่ําค่ําซ้ํานั่งระวังหนู 
ควรนับว่ามันกตัญญู
พอดูอย่าง
ไว้ใส่ใจเอย 

นายทัด เปรียญ



ฝนตกแดดออก


ฝนตกแดดออก

บทอาขยาน “บทหลัก” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1



ฝนตกแดดออก นกกระจอกแปลกใจ 
 โผผินบินไป ไม่รู้หนทาง 
 ไปพบมะพร้าว นกหนาวครวญคราง 
พี่มะพร้าวใจกว้าง ขอพักสักวัน 

ฝนตกแดดออก นกกระจอกพักผ่อน 
 พอหายเหนื่อยอ่อน บินจรผายผัน 
 ขอบใจพี่มะพร้าว ถึงคราวช่วยกัน 
 น้ําใจผูกพัน ไม่ลืมบุญคุณ 

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ


นี่ของของเธอ



นี่ของของเธอ

บทอาขยาน “บทเลือก” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1


นี่ของของเธอ 
นั่นของของฉัน 
มันสับเปลี่ยนกัน 
ฉันคืนให้เธอ 
นี่ของของเธอ 
ที่ทําตกไว้ 
ฉันนี้เก็บได้
นํามาให้เธอ 

ฉันท์ ขำวิไล

 

รักเมืองไทย

รักเมืองไทย

บทอาขยาน “บทเลือก” ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑



คนไทยนี้ดี                   เป็นพี่เป็นน้อง 
เมืองไทยเมืองทอง      เป็นของคนไทย 
     คนไทยเข้มแข็ง           ร่วมแรงร่วมใจ 
    รักชาติยิ่งใหญ่            ไทยสามัคคี 
ธงไทยไตรรงค์            เป็นธงสามสี 
ทั้งสามสิ่งนี้                  เป็นที่บูชา 
สีแดงคือชาติ               สีขาวศาสนา 
น้ำเงินงามตา               พระมหากษัตริย์ไทย 
เรารักเพื่อนบ้าน          ไม่รานรุกใคร 
เมื่อยามมีภัย               ร่วมใจปูองกัน 
เรารักท้องถิ่น              ทํากินแบ่งป๎น 
ถิ่นไทยเรานั้น              ช่วยกันดูแล 

นภาลัย สุวรรณธาดา


บทอาขยาน

บทอาขยาน        บทอาขยานหรือบทประพันธ์ที่คัดเลือกมาให้นักเรียนท่อง ซึ่งครูได้แนะแนวทางให้นักเรียนทําความ เข้าใจก่อนท่อง รวมทั้งนักเร...